สวัสดีครับ ตอนนี้ผมเดินทางมาเรียนต่อแล้วนะครับ มาอยู่ที่ University of Illinois at Urbana-Champaign ที่รัฐ  Illinois ประมาณ 3 ปีแล้วครับ ตอนนี้จบ ป.โท เรียบร้อยแล้ว กำลังต่อ ป.เอก Geography and GIS ครับผม

ที่หายไปก็เพราะต้องปรับตัวกับอะไรหลายๆอย่าง ตอนนี้เข้าที่เข้าทางแล้วเลยจะมาสานต่อให้จบ Series ซะทีนะครับ

เราเดินทางกันมาถึงตอนที่ 3 ของ “ประสบการณ์สอบทุน กพ The Series” กันแล้ว ตอนนี้เราจะมาพูดถึงการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ที่จำเป็นมากๆ สำหรับการเรียนต่อต่างประเทศนะครับ ซึ่งจะมีอยู่ 3 อย่างคือ IELTS, TOELF, และ GRE (บางสาขาอาจจะให้ใช้ SAT แทน GRE ครับ) เนื้อหาที่เราจะมาพูดถึงกันในตอนนี้จะมีประมาณนี้ครับ

  1. การดู requirement และ deadline ของมหาวิทยาลัยและสาขาวิชา
  2. การเตรียมตัวสำหรับการสอบวัดระดับภาษา
  3. คำแนะนำสำหรับการสอบวัดระดับภาษา Tip & Trick สอบวัดระดับภาษา (จากประสบการณ์ตรง)
  4. การเตรียมตัวอีกครั้งในกรณีที่ผลยังไม่เป็นที่พอใจ

ดูท่าแล้วน่าจะเป็นตอนที่ยาวมากทีเดียว เพราะเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้พลังงาน ทุกอย่างเยอะมาก ทั้งเวลา กำลังกาย กำลังสมอง ทุกอย่างต้อง Focus ที่การสอบ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์นั่นเอง หวังว่าเนื้อหาตอนนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่อยากไปเรียนต่อ หรือแม้แต่คนที่ต้องการสอบวัดระดับภาษานะครับ มาเริ่มกันเลย!

=======================================

1. การดู requirement และ Deadline ของมหาวิทยาลัยและสาขาวิชา สำคัญมาก!!!

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ผมคิดว่ามันสำคัญมากๆ สำหรับใครที่จะสมัครเรียน เพราะมันจะเป็นเป้าหมายทั้งหมด ให้เราตั้งใจอ่านหนังสือสอบ และรู้ว่าเราควรพัฒนาตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้ถึงเป้าหมาย และยังช่วยเป็นการทบทวนความก้าวหน้าของการสมัครเรียนของเราด้วย

Requirements

เวลาสมัครเรียนจะมี requirement ของมหาวิทยาลัย และ requirement เฉพาะของแต่ละ Degree โดยส่วนใหญ่แล้ว minimum requirements ของ Degree ที่เราจะสมัครจะสูงกว่าของมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่เสมอไปนะครับ อย่างไรให้มองหา requirements ที่สำคัญดังนี้

  1. Deadline ของการสมัคร สำคัญมากกกก!!!
  2. คะแนนขั้นต่ำของการทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS (ของ University และ Department/Degree)
  3. คะแนนขั้นต่ำ GRE หรือ GMAT (อาจจะไม่มีขั้นต่ำในบาง Degree แต่เกือบจะทั้งหมดต้องส่งคะแนน)
  4. Statement of Puspose (บางมหาวิทยาลัยมี list คำถามมาให้)
  5. Research Proposal (โดยเฉพาะปริญญาเอก)
  6. Recommendation Letters (เท่าที่สังเกต ฝั่ง Europe ใช้ 2 คน และฝั่ง US ใช้ 3 คน)

วิธีการหา Requirement ที่กล่าวมาข้างบนบางทีก็ง่าย แต่บางทีก็ยากและสับสนครับ จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมใช้เวลาสักพักใหญ่ๆ เพื่อจะเข้าใจว่ามันต้องทำยังไง และจัดระบบเพื่อให้ตัวเองง่ายต่อการจัดการครับ

วิธีคนหา Requirement แบบง่ายๆเลยคือ

  1. เข้าเว็บของมหาวิทยาลัย
  2. มองหาเมนู Admission แล้วเลือก Undergraduate หรือ Graduate ตามที่เราอยากเรียนครับ
    1. มองหา General Requirement สำหรับ Requirement ทั่วไปของมหาวิทยาลัยครับ
    2. มองหา Degree ที่เราจะสมัคร สำหรับ Requirement ของ Degree

ผมขอยกตัวอย่าง Univerisity at Buffalo ที่ผมอยากจะไปเรียน PhD นะครับ

Requirement ของมหาวิทยาลัย

Requirement ของมหาวิทยาลัย

Requirement ของปริญญโทขึ้นไป

จะเห็นว่า ใน requirements ของ Department จะเขียนไว้ว่า minimum จะสูงกว่าแต่ไม่ได้ระบุว่าเท่าไหร่ นั่นหมายความว่า Department ใช้คะแนนภาษาอังกฤษในการพิจารณา ถ้าได้ minimum ก็มีสิทธิ์ แต่! ก็ต้องเรียงตามลำดับคะแนนภาษาอังกฤษด้วย

Deadline

สิ่งที่จะแนะนำก็คือ อยากให้เพื่อนๆ ทำ Excel ไว้เลยว่า แต่ละที่ มี Requirement อะไร เท่าไหร่ โดยเฉพาะ Deadline ของการรับสมัคร อย่าง UoB ที่เป็นตัวอย่าง จะเห็นว่า Deadline ของ International Student หมด March 1 ของทุกปี ดังนั้นเราจะรู้ว่าเรายังเหลือเวลามากน้อยแค่ไหนเพื่อให้เตรียมทุกอย่าง

==============================================

Note: บางคนอาจจะมี list ของมหาวิทยาลัยในใจเรียบร้อยแล้ว เยี่ยมมากครับ!! แต่สำหรับใครที่คิดไม่ออกว่าเราจะไปไหนต่อดี ผมขอเสนอให้ไล่อันดับมหาวิทยาลัยโลกไปเลยครับ อันนี้เป็นวิธีส่วนตัวที่ผมใช้นะครับ

วิธีการก็คือ เปิด World University Ranking เลยครับ หลักๆ มี 2 เจ้าดังนี้ครับ

พอเข้าเว็บแล้วเราก็ต้องไปหา Ranking สำหรับสายที่เราจะเรียนครับ เราก็จะได้ list ของมหาวิทยาลัยที่เป็นเป้าหมายของเรากันครับ

==============================================

2. การเตรียมตัวสำหรับการสอบวัดระดับภาษา

จากตัวอย่าง จะเห็นว่ามหาวิทยาลัยที่เราเลือก มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำคือ  TOELF 79 หรือ IELTS 6.5 (ทุก part ไม่ต่ำกว่า 6.0) และ GRE ไม่มีขั้นต่ำ แต่ควรได้อย่างน้อย 300+ ครับ ดังนั้น นี่คือ เป้าหมายต่ำสุดของเรา เพื่อที่จะมีโอกาสส่งใบสมัครนะครับ ถ้าไม่ถึงเกณฑ์นี้ แนะนำว่าไม่ควรส่งใบสมัครครับ เสียเงินเปล่าๆ เพราะเค้าจะ reject ทันทีครับผม

เมื่อเราเห็นเป้าหมายชัดเจนแล้วเราก็ต้อง มาเริ่มเตรียมตัวกันครับ ขั้นตอนการเตรียมตัวของผมก็อาจจะต่างจากคนอื่นนะครับ แต่ถ้าอยากลอง ก็ตามนี้เลยครับ

1. เริ่มต้นด้วยการวางแผนวันสมัครสอบ แล้วก็สมัคร พร้อมจ่ายเงินค่าสอบให้เรียบร้อยเลยครับ

เหตุผลที่ผมแนะนำให้สมัครสอบ พร้อมจ่ายเงินให้เรียนร้อยเป็นอันดับแรกเพราะมันจะเป็นแรงผลักดันที่ดีมากๆครับ ผมลองมาแล้วใช้ได้ผลมาก เพราะค่าสอบแต่ละครั้งไม่ใช่ถูกๆเลยครับ (TOELF/IELTS ครั้งละ 5,000 – 8,000 บาท ส่วน GRE ครั้งละ 6,000 บาท) แต่การเลือกวันสอบควรเลือก ล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 เดือนครับ เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ทัน

ศูนย์สอบของ GRE/TOELF/IELTS คนละที่กันนะครับ ดังนั้นดูดีๆตอนสมัครครับ อย่าหลงเหมือนผม เสียเงินทิ้งไป 1 รอบเพราะไปผิดที่ ฮ่าาาา

หมายเหตุ: เราสามารถสอบกี่ครั้งก็ได้เลยครับ ตามสบาย แต่การสอบแต่ละครั้งผมแนะนำว่า ควรห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อเราจะได้มีเวลาเตรียมตัวเพิ่มครั้ง สอบถี่เกินไป คะแนนจะนิ่ง และทำให้เสียกำลังใจเปล่าๆครับ

2. ซื้อหนังสือและลองทำข้อสอบเหมือนเราสอบจริง

หลังจากที่เราสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเริ่มร้อนใจละครับ ฮ่าาา ตอนนี้เราต้องเริ่มประเมินตัวเองครับ ก่อนอื่นผมแนะนำให้ซื้อหนังสือตามนี้ครับ

TOELF แนะนำของ ETS เล่มประมาณนี้ครับ เพราะเป็นข้อสอบจริงของปีที่ผ่านๆมา

IELTS แนะนำของ KAPLAN ครับ เพื่อนๆหลายคนบอกว่าดี

GRE ก็แนะนำ ETS ครับ เพราะเจ้านี้คือคนออกข้อสอบและเป็นข้อสอบเก่า

นี่คือหนังสือทั้งหมดที่ควรมีครับ มากกว่านี้ก็ไม่จำเป็นครับ ถ้ามีเงินก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้ามีเงินจำกัด 3 เล่มนี้คือสิ่งที่ต้องมีครับ เพราะนี่คือแนวข้อสอบจริงๆที่เราจะเจอในห้องสอบ และนี่คือสิ่งที่จะชี้ชะตาเราต่อไปครับ

อย่างแรกที่อยากให้ทำเมื่อเรามีหนังสือ คือ ทำข้อสอบโดยจับเวลาให้เหมือนการสอบจริง และตั้งใจทำข้อสอบจริงๆครับ เพื่อวัดระดับของตัวเองก่อนที่จะเริ่มเตรียม เราจะรู้จุดแข็งจุดอ่อนของเรา และจะได้เตรียมตัวได้ตรงจุดไม่เสียเวลาครับ

3. รู้คะแนน รู้จุดอ่อนจุดแข็ง

หลังจากที่เราลองทำข้อสอบจับเวลาแล้ว คะแนนที่เราได้ +- 5 จะเป็นคะแนนที่เราจะได้โดยประมาณครับผม ดังนั้น เราจะเห็นเค้าลางละว่า จุดไหนที่เราแข็งแรง จุดไหนที่เราต้องปรับปรุง

ข้อสอบของ TOELF และ IELTS จะแบ่งออกเป็น 4 skills ฟัง, อ่าน, เขียน, พูด ตามลำดับการสอบครับ (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) สำหรับผม ลำดับนี้คือเรียงตามความยาก จากน้อยไปมากเลยครับ

3. คำแนะนำสำหรับการสอบวัดระดับภาษา Tip & Trick เท่าที่ผมคิดออก

Speaking

Reading

Writting

Listening แนะนำให้ฟังทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษให้มากที่สุดครับ สำหรับผมใช้วิธีฟังทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษหมด คือเลิกฟังทีวีไทยไปพักใหญ่ๆ ดู YouTube ช่องฝรั่ง ดูหนังไม่เปิด subtitle ทุกอย่างที่ทำมันช่วยให้เราคุ้นเคยกับการออกเสียงของภาษาอังกฤษครับ แรกๆมันจะลำบาก แต่มันจะง่ายขึ้นเรื่อยๆครับ เชื่อผม

4. การเตรียมตัวอีกครั้งในกรณีที่ผลยังไม่เป็นที่พอใจ

เมื่อผลสอบออกมา ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยังไม่ต้องท้อนะครับ ผมเองก็สอบ TOELF สองรอบ IELTS สองรอบ GRE อีก 1 รอบ เหมือนกัน ดังนั้น อย่าตกใจครับ ถือว่าเราลองสนามสอบ

แต่หลังสอบต้องให้เวลาตัวเองนะครับ เพื่อกลับไปเตรียมตัวอีกครั้ง อย่างน้อยต้องมีเวลาเตรียมตัวรอบใหม่ 1-2 เดือนครับ เพราะทักษะภาษามันไม่สามารถพัฒนาได้ชั่วข้ามคืนครับผม ดังนั้น ไม่ต้องรีบครับให้เวลา และอดทน

=====================================

หวังว่าบล็อกนี้ จะเป็นประโยชน์กับหลายๆคนที่กำลังสมัครเรียนมหาวิทยาลัยต่างประเทศกันอยู่นะครับ

หากมีข้อสงสัย หรืออยากแลกเปลี่ยนพูดคุย กับสามารถแอดมาที่เพจ 9Bombs นะครับ ขอบคุณครับผม

=================================

สารบัญ

20 ข้อที่ต้องรู้ก่อนสมัครทุน กพ : ประสบการณ์นักเรียนทุน กพ ตอนที่ 0

การเตรียมตัวสอบข้อเขียนทุน กพ : ประสบการณ์นักเรียนทุน กพ ตอนที่ 1

การเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ทุน กพ : ประสบการณ์นักเรียนทุน กพ ตอนที่ 2

การสอบภาษาอังกฤษเพื่อไปเรียนต่างประเทศ : ประสบการณ์นักเรียนทุน กพ ตอนที่ 3

การสมัครเรียนมหาวิทยาลัยต่างประเทศ : ประสบการณ์นักเรียนทุน กพ ตอนที่ 4

การเตรียมตัวเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ :ประสบการณ์นักเรียนทุน กพ ตอนที่ 5

Comments

comments